หลังจากมีข่าวออกมาว่าเคสมือถือที่มีของเหลวอยู่ด้านในพร้อมกลิตเตอร์ที่กำลังได้ความนิยมนั้นสามารถทำอันตรายทำให้ผิวหนังไหม้ได้เมื่อถูกของเหลวด้าน ล่าสุด รศ. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกมาระบุว่าสารตัวนี้คือ Decane นั้นเอง
ซึ่งจากแผลที่เห็นจากภาพที่ของเหลวในเคสมือถือไปโดนผิวทั้งภาพจากต่างประเทศและในประเทศไทย ไม่ใช่ลักษณะการไหม้ที่เกิดจากกรดแก่ เพราะหากเป็นกรดแก่ จะทำปฏิกิริยาดูดน้ำ (Dehydration) ออกจากร่างกาย และมีแผลที่รุนแรงกว่านี้ แต่รูปที่เห็น น่าจะเป็นการแพ้ระคายเคือง ผื่นแดง จึงนำไปสู่การทดสอบหาสารที่นำมาใช้บรรจุอยู่ในเคสมือถือ ปรากฏว่าเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นกลุ่มไม่ละลายพลาสติกที่เรียกว่า สารละลายอินทรย์ไฮโดรคาร์บอนสายยาว โดยปกติสารตัวนี้เป็นสารชะล้างในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นทำความละอาดแผงวงจร รวมถึงเป็นตัวทำละลายในปิโตรเคมีด้วย ซึ่งสารตัวนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้เฉียบพลันคือ อันตรายในกรณีที่กลืนกินจากการ สูดดม อันตรายในกรณีที่ถูกผิวหนังทำให้ระคายเคืองแพ้ หากใครแพ้มาก ก็อันตรายตามอาการ หากสารเข้าตาก็อาจบอดได้ โดยสารตัวนี้ไม่มีรายงานการเกิดมะเร็ง แต่มีรายงานการเป็นพิษต่อระบบประสาท ส่วนกลาง (CNS ) ในระยะยาว ซึ่งสารตัวนี้หาซื้อได้ที่ร้านเคมีภัณฑ์ ไม่มีขายทั่วไป ราคาไม่แพง ในกรณีที่สัมผัสทันทีล้างตาด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที หากเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังให้ ชะล้างด้วยน้ำและสบู่และทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นผิว การสัมผัสต้องนานพอควรจึงจะเกิดการแพ้ การสูดดมมากๆ อาจอาเจียนได้
แอดมินจึงอยากจะเตือนว่าหากใครใช้เคสแบบนี้อยู่ก็ระวังให้ดีนะคะ ถึงแม้ผู้ผลิตจะซีลเคสมาเป็นอย่างดี แต่หากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้เคสแตกจนทำให้สาร Decane ภายในรั่วไหลออกมาก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ ทางที่ดีก็ควรเปลี่ยนไปใช้เคสแบบอื่นดีกว่านะคะ
ข้อมูล : เฟสบุ๊ค Weerachai Phutdhawong